วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่10 ชนิดของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

ชนิดของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์เป็นการวิจัยที่พยายามวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อหาข้อเท็จจริงในอดีต นักวิจัยได้แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ชนิดคือ
1.1 การศึกษาเป็นรายกรณี เป็นการศึกษาที่ชี้เฉพาะลงไปโดยอาจศึกษากับบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือสถาบัน เอกสารหรือกฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่งก็ได้
1.2 การศึกษาพัฒนาการ เป็นการศึกษาความแตกต่างของเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งในระยะใดระยะหนึ่ง โดยอาจศึกษาเหตุการณ์ทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนของเหตุการณ์นั้นก็ได้
1.3 การศึกษาความเปลี่ยนแปลง การศึกษาแบบนี้คล้ายคลึงกับแบบที่สอง แต่เป็นการเปรียบเทียบลักษณะการเปลี่ยนแปลงในเรื่องราวหรือเหตุการณ์ในอดีตกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน เช่น การเปลี่ยนแปลงเป้าหมายทางการศึกษา โดยในอดีตการศึกษาต้องการเตรียมคนเข้ารับราชการ แต่ปัจจุบันเป็นการเตรียมคนเข้าประกอบอาชีพต่าง ๆ หลายอาชีพ ไม่ชี้เฉพาะแต่การเข้ารับราชการเท่านั้น

สัปดาห์ที่9 ข้อจํากัดของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

ข้อจํากัดของเรื่องราว เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์


การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์เป็นวิธีแสวงหาข้อเท็จจริงของสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านมาแล้วในอดีต โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้การรวบรวมข้อมูล การสืบเสาะหาข้อเท็จจริง การตรวจสอบข้อเท็จจริง การวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนการสรุปผลเป็นไปอย่างถูกต้อง สมเหตุสมผล และสามารถนำผลที่ได้มาใช้ในการอธิบายสภาพความเป็นจริงในอดีต หรือบันทึกเหตุการณ์ในอดีตในรูปใหม่ที่มีระบบและมีความเป็นปรนัยยิ่งขึ้น ต่อไปนี้จะขอกล่าวถึงประเด็นสำคัญ ๆ ของการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์

สัปดาห์ที่8 คุณสมบัติผู้ศึกษาประวัติศาสตร์

คุณสมบัติผู้ศึกษาประวัติศาสตร์
นักประวัติศาสตร์จะต้องมีคุณสมบัติต่าง ๆ ประกอบด้วย

  1. มีความเป็นกลาง (Objectiveness or Objectivity)
  2. มีความคิดที่เป็นประวัติศาสตร์ (Historical thinking)
  3. มีความถูกต้องแม่นยำ (Accurary)
  4. มีความเป็นระเบียบในการจัดเก็บและบันทึกข้อมูล (Love of order)
  5. มีลำดับการทำงานที่เป็นตรรกะ (Logic)
  6. มีความซื่อสัตย์ในการแสวงหาข้อเท็จจริง (Honesty)
  7. มีความระมัดระวังในการใช้หลักฐาน (Self-awareness)
  8. มีจินตนาการ (Historical imagination)

สัปดาห์ที่7 การแบ่งยุคสมัยในประวัติศาสตร์ยุโรป

การแบ่งยุคสมัยในประวัติศาสตร์ยุโรป

ความนิยมในการแบ่งยุคสมัยของประวัติศาสตร์ยุโรปมักแบ่งเป็น 3 สมัย ได้แก่

  1. สมัยโบราณ (Ancient History)
  2. สมัยกลาง (Medieval History)
  3. สมัยใหม่ (Modern History)
อย่างไรก็ดี การกำหนดเวลาเริ่มต้นของแต่ละสมัยสมัยนั้นยังไม่เป็นที่ยุติ เช่น นักประวัติศาสตร์บางท่านถือเอาว่าประวัติศาสตร์สมัยกลางเริ่มต้นใน ค.ศ. 284 อันเป็นปีที่จักรพรรดิไดโอคลิเซียน (Diocletian) ขึ้นครองราชย์ แต่บางท่านก็เห็นว่าควรเริ่มต้นใน ค.ศ. 476 ปีที่อาณาจักรโรมันตะวันตกล่มสลายลง เป็นต้น

สัปดาห์ที่6 การศึกษาประวัติศาสตร์เฉพาะหัวข้อ



การศึกษาประวัติศาสตร์เฉพาะหัวข้อ
คือการศึกษาประวัติศาสตร์เฉพาะด้านในดินแดนต่าง ๆ เดิมแบ่งการศึกษาออกเป็นหัวข้อใหญ่ ดังนี้

  1. ประวัติศาสตร์การเมือง
  2. ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ
  3. ประวัติศาสตร์สังคม
ต่อมา เมื่อการศึกษาประวัติศาสตร์มีพัฒนาการมากขึ้น ทำให้มีการศึกษาในหัวข้อเฉพาะและลึกซึ้งมากกว่าเดิม เช่น

  1. ประวัติศาสตร์วัฒนธรรม
  2. ประวัติศาสตร์พรรคการเมือง
  3. ประวัติศาสตร์การทหาร
  4. ประวัติศาสตร์การทูต
  5. ประวัติศาสตร์พัฒนาการของกลุ่มชาติพันธุ์
  6. ประวัติศาสตร์สตรี
  7. ประวัติศาสตร์สงคราม
  8. ประวัติศาสตร์ลัทธิทุนนิยม
  9. ประวัติศาสตร์ศิลปะ
  10. ประวัติศาสตร์การละคร
  11. ประวัติศาสตร์นิพนธ์ ฯลฯ

สัปดาห์ที่5 การจำแนกประเภทของการศึกษาประวัติศาสตร์

การจำแนกประเภทของการศึกษาประวัติศาสตร์

หากศึกษาพัฒนาการของการศึกษาประวัติศาสตร์ในดินแดนต่าง ๆ พบว่าการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับอดีตของมนุษย์และสังคมของตนเริ่มจากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวและค่อย ๆ ขยายไปสู่สังคมที่ไกลตัวออกไป โดยทั่วไปสามารถแบ่งขอบเขตการศึกษาประวัติศาสตร์ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ การศึกษาเฉพาะพื้นที่และการศึกษาเฉพาะหัวข้อ

การศึกษาประวัติศาสตร์เฉพาะพื้นที่
คือการใช้พื้นที่ทางภูมิศาสตร์กำหนดขอบเขตของการศึกษา โดยเน้นศึกษาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในกรอบพื้นที่ จำแนกออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

ประวัติศาสตร์โลก (World History)
คือการศึกษาเรื่องราวและพัฒนาการของสังคมโลกในลักษณะที่เป็นองค์รวม ไม่เน้นเขตพื้นที่ใดโดยเฉพาะ เช่น การศึกษาอารยธรรมโลก การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ การปฏิวัติอุตสาหกรรม การขยายตัวของลัทธิล่าอาณานิคม สงครามโลก และสงครามเย็นเป็นต้น

ประวัติศาสตร์ชาติ (National History)
คือการศึกษาเรื่องราวและเหตุการณ์ต่าง ๆ ของแต่ละประเทศ

ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น (Local History)
คือการศึกษาประวัติศาสตร์ในเขตพื้นที่เฉพาะ เช่น ประวัติศาสตร์ชุมชน ประวัติศาสตร์เมือง/จังหวัด โดยเนื้อเรื่องที่ศึกษาอาจจะเน้นในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม กำเนิด/พัฒนาการของสถาบันใดสถาบันหนึ่งในท้องถิ่น อาชีพ กลุ่มชนต่าง ๆ เชื้อชาติ ศาสนา และประเพณีในท้องถิ่น ฯลฯ

สัปดาห์ที่4 คุณสมบัติผู้ศึกษาประวัติศาสตร์

คุณสมบัติผู้ศึกษาประวัติศาสตร์
นักประวัติศาสตร์จะต้องมีคุณสมบัติต่าง ๆ ประกอบด้วย

  1. มีความเป็นกลาง (Objectiveness or Objectivity)
  2. มีความคิดที่เป็นประวัติศาสตร์ (Historical thinking)
  3. มีความถูกต้องแม่นยำ (Accurary)
  4. มีความเป็นระเบียบในการจัดเก็บและบันทึกข้อมูล (Love of order)
  5. มีลำดับการทำงานที่เป็นตรรกะ (Logic)
  6. มีความซื่อสัตย์ในการแสวงหาข้อเท็จจริง (Honesty)
  7. มีความระมัดระวังในการใช้หลักฐาน (Self-awareness)
  8. มีจินตนาการ (Historical imagination)